ครีมป้องกันฝ้า กระ

ครีมป้องกันฝ้า กระ

ลักษณะของฝ้า และสาเหตุของการเกิดฝ้า
โดยทั่วไปแล้วเชื่อกันว่า ฝ้าเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเฉพาะที่ เนื่องจากการทาครีมบำรุงผิวที่มีฮอร์โมนบางชนิด หรือยาที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม ฝ้าชนิดนี้มักขึ้นตามบริเวณเหนือริมฝีปาก และคิ้ว และลักษณะของผิวหน้าจะดูไม่ผองใส
2. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในระบบภายในร่างกาย อาจจะเกิดการตั้งครรภ์ หรือรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น ฝ้าจำพวกนี้ลักษณะของผิวหนังที่บริเวณฝ้าจะเหมือนกับผิวข้างเคียง
3. เกิดจากแสงแดดร่วมกับการแปรปรวนกับเซลล์สีผิว ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด ฝ้าชนิดนี้มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลแสงแดดจากดวงอาทิตย์บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรมีแสงเหนือม่วง(แสงอุลตร้าไวโอเล็ต หรือแสงยูวี) มาก โดยเฉพาะตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. ในฤดูร้อน ฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากครึ่งหนึ่งของแสงเหนือม่วงทั้งหมดได้มาจากดวงอาทิตย์โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม อีกครึ่งหนึ่งสะท้อนมาจากท้องฟ้า เมฆ หมอก ต้นไม้ พื้นดิน คอนกรีต ดังนั้นที่กำบัง หรือร่มมิได้ช่วยป้องกันแสงเหนือม่วงได้ทั้งหมดจะป้องกันได้เพียงครึ่งหนึ่งนอกจากนี้ลมเย็นก็สามารถนำพาแสงเหนือม่วงมาได้เช่นกัน การใส่เสื้อแขนยาวหรือสวมหมวกปีกกว้างกันแสงเหนือม่วงได้บ้าง แต่ถ้าผ้าที่เนื้อบางแล้วแทบจะกันแสงเหนือม่วงไม่ได้เลยการป้องกันไม่ให้เกิดฝ้า
1. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางทุกชนิด
2. อย่าใช้สเตียรอยด์ทาที่หน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทาทั่วใบหน้าเพื่อรักษาสิว
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดจ้าโดยตรง หรือทายากันแสงแดดไว้เสมอการป้องกัน (รักษา) ฝ้า
ครีมป้องกันฝ้าที่กำลังเป็นที่นิยมที่สุด และใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยปัจจุบันมีไฮโดรควิโนน เป็นตัวยาออกฤทธิ์สำคัญในการป้องกันฝ้า โดยไปขัดขวางการสร้างเม็ดสีผิวของผิวหนังชั้นนอก และที่รูขุมขน แต่มีข้อเสียคืออาจกลับเป็นใหม่ (rebound) ได้ ทำให้ฝ้าบริเวณเดิมกว้างขึ้น หรือมีฝ้าเกิดบริเวณที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งป้องกันได้โดยทายาทุกวันอย่าหยุดยาทันที ต้องค่อยๆ หยุดยาโดยปฏิบัติตามตารางเวลาที่กำหนด แต่ถ้ามีอาการแพ้ เช่น มีอาการคัน หรือมีเม็ดผื่นแดงต้องหยุดยาทันทีแล้วทาสเตียรอยด์แทน และค่อยๆ เลิกสเตียรอยด์อย่างช้าๆ ขนาดของไฮโดรควิโนน กำหนดให้ใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 ให้ใช้ไม่เกินร้อยละ 2 ถ้าต้องการให้ออกฤทธิ์แรงขึ้น ให้ผสมร่วมกับ วิตามินเอแอซิค เนื่องจากวิตามินเอแอซิคทำให้การแบ่งตัวของเซลล์เพิ่มขึ้นและผิวหนังชั้นนอกหนาและนุ่มลงผิวหนังลอกออกได้ง่ายข้อควรระวัง การใช้ครีมป้องกันฝ้าที่มีตัวยาไฮโดรควิโนน อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน แต่เป็นอาการที่ป้องกันและแก้ไขได้ อาการแทรกซ้อนแบ่งออกได้ดังนี้

1. อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้ตอนต้นๆ (short term) ภายในเวลา 3 เดือน อาจเกิดอาการดังนี้
1.1 การรบกวนผิวหนัง ทำให้มีอาการ แดง ร้อน ลอก อาการนี้จะค่อยๆ หายไปเอง แต่ต้องพยายามอย่าถู หรือขัดผิวหนัง การป้องกันทำได้โดยทายาให้บางที่สุดแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น
1.2 อาการแสบ อาจเกิดในช่วง 2-3 เดือนแรก โดยจะเกิดเฉพาะตอนทายาและจะคงอยู่ประมาณ 15 นาที และอาการจะหายไปเอง
1.3 อาการแพ้ต่อแสงแดด ซึ่งแก้ปัญหาโดยใช้ยาทาป้องกันแสงแดด
2. อาการแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากใช้ยาติดต่อกันนาน ๆ (long term) เกิดหลังจากใช้ยาติดต่อกันเกิน 3 เดือน
2.1 มีอาการเหมือนดังกล่าวข้างต้น แต่อาการแสบจะเกิดเฉพาะขณะอากาศร้อนและมีเหงื่อ
2.2 อาการแดงเกิดเฉพาะเวลามีอะไรมากระตุ้น ให้เส้นเลือดขยายตัว เช่น ความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือแหล่งอื่น สุรา ดีใจ การเช็ดหน้าแรง ๆ ซึ่งป้องกันได้โดยการถนอมผิวตลอดเวลา โดยใช้เครื่องสำอางที่ให้ความชุ่มชื้นผิว
2.3 เกิดสิว
2.4 อาการแพ้ และอื่นๆคำเตือน
1. ระวังอย่าให้เข้าตา
2. อย่าให้บริเวณผิวหนังที่ใช้เครื่องสำอางนี้ถูกแสงแดด
3. ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
4. ต้องหยุดใช้ เมื่อเกิดอาการคัน หรือมีเม็ดผื่นแดงสรุป
การรักษาฝ้าให้ได้ผลดี ต้องทาครีมรักษาฝ้าทุกวันและทาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจางหายสนิท แล้วจึงค่อย ๆ ถอนยาพร้อมกับให้ทายากันแสงแดดทุกวันตลอดไป โดยการเริ่มทาตั้งแต่ระยะต้น ๆ ของการรักษา และงดใช้เครื่องสำอางที่ไม่จำเป็นตลอดไป*ฝ่ายวิเคราะห์เครื่องสำอาง กองพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

« Back

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart
error: Content is protected !!